สัปดาห์ ที่ 16
วันอังคาร ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน: หมายเหตุ** สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้แจกข้อสอบปลายภาค ไปทำ โดยต้องหาคำตอบจากหนังสือ สิ่งที่จดไปในห้องเรียน ** ห้ามหาจากอินเตอร์เน็ต เด็ดขาด**
ขอให้เพื่อนๆตั้งใจทำข้อสอบ โชค A กันทั่วหน้าทุกๆคนนะคะ
Child Care of Early Chidhood with Special Need
แฟ้มสะสมงานในรายวิชา EAED2209 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สัปดาห์ ที่ 15
วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ได้สอนต่อในหัวข้อเด็กพิเศษ ( LD )
วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ได้สอนต่อในหัวข้อเด็กพิเศษ ( LD )
ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders
– LD)
เรียบเรียงโดย
ผศ.นพ.ชาญวิทย์
พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช
สาเหตุของปัญหาการเรียน• สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)• วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)• สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)• ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)• เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)• ขาดโอกาสทางการศึกษา• ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)• วิธีการสอนไม่เหมาะสมLD คืออะไร?• ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง• ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกันพบบ่อยแค่ไหน?• ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1สาเหตุของ LD• ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
• กรรมพันธุ์
ประเภทของ LD• LD ด้านการเขียนและสะกดคำ• LD ด้านการอ่าน• LD ด้านการคำนวณ• LD หลายๆ ด้านร่วมกันลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การเขียน)• ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
• เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
• เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
• เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
• เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
• เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
• จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
• สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
• เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
• เขียนไม่ตรงบันทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
• ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การอ่าน)• อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
• อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
• เดาคำเวลาอ่าน
• อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
• อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
• ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
• ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
• เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภทประเภท (การคำนวณ)• ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด• นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้• คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว• จำสูตรคูณไม่ได้• เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31• ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น• ตีโจทย์เลขไม่ออก• คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย• ไม่เข้าใจเรื่องเวลาปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก LD• หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน• ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ• ต่อต้านแบบดื้อเงียบ• ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน• ไม่มีสมาธิในการเรียนทำงานช้าทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน• ทำงานสะเพร่า• ความจำไม่ดีได้หน้าลืมหลัง• ขาดความมั่นใจกลัวครูดุกลัวเพื่อนล้อ• ไม่อยากมาโรงเรียนโทษครูว่าสอนไม่ดีเพื่อนแกล้ง• เบื่อหน่ายท้อแท้กับการเรียน• รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งด้อยกว่าคนอื่น• ไม่มั่นใจในตัวเอง• มักตอบคำถามว่า“ทำไม่ได้“ไม่รู้”• อารมณ์หงุดหงิดขึ้นลงง่ายคับข้องใจง่าย• ก้าวร้าวกับเพื่อนครูพ่อแม่(ที่จ้ำจี้จ้ำไช)ปัญหาการเรียน• ปัญหาการพูด มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง• ปัญหาการเขียน มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง อ่านตัวอักษรสลับกัน• ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้• ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ• ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออกอาการที่มักเกี่ยวข้องกับLD• แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
• มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
• เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
• งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
• การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อ (visual-motor coordination) ไม่ดี• สมาธิไม่ดี( เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)• เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
• ทำงานช้า
• การวางแผนงานและจัดระบบ (organize) ไม่ดี• ฟังคำสั่งสับสน
• คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
• ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
• ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
• ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
• ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
การตรวจประเมิน• โดยทั่วไปเราจะวินิจฉัย LD โดยดูความแตกต่างระหว่างสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนกับระดับสติปัญญาของเด็ก โดยถือว่าเด็กจะเป็น LD ต่อเมื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านนั้นๆ ต่ำกว่าระดับสติปัญญา 2 ปี เช่น เด็กอายุ 10 ปี มี I.Q.=100 แต่ปรากฏว่าความสามารถในการอ่านเท่ากับเด็กอายุ 7 ปี หรือ เด็กอายุ 10 ปีที่มี I.Q.=130 แต่ความสามารถในการคำนวณเท่ากับอายุ 10 ปีเป็นต้น (เด็กควรทำได้สูงกว่านั้น)
จะเกิดอะไรกับเด็กแอลดี (LD) เมื่อเขาโตขึ้น?• ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์
• ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนักคนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียนบางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร บางคนหางานทำไม่ได้ เป็นต้น
• การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่นอาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก
การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
• การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
• การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
• ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก
หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD• สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
• สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
• ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
• ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
• ใช้ประสบการณ์ตรง
• ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
• ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
• กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
• ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
• แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
• ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
• สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
• จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
• ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
• มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก
วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD• สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room• สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)• สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น• สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น• ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ• ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น• แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วยแก้ไขปัญหาทางอารมณ์• รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล• ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)• แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญคำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก LD• พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด• แสดงความรักต่อเด็ก• มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี• อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม• ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน• มีความคาดหวังที่เหมาะสม• เมื่อเด็กทำผิดเช่นเขียนผิดอ่านผิดจงอย่าบ่นช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน• อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็กกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น• เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน• อย่ามีของเล่นมากไปอย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุขณะเด็กทำการบ้าน• อย่าสนใจคะแนนมากนักเพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว• ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สัปดาห์ ที่ 14
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ในเรื่อง การดูรักษาส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.เด็กดาวน์
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach )
1.ด้านสุขภาพอนามัย
บิดา มารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กกลุ่มอาการดาวห์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูดกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
การดูแลในช่วง 3 เดือนแรก
การปฏิบัติของบิดา มารดา
- ยอมรับความจริง
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การสอนเพศศึกษา
การส่งเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น
2. Autistic ออทิสติก
- ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
- ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
การพูด
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สื่อสารความต้องการได้
- การสื่อสารความหมายทดแทน ( AAC )
การส่งสริมพัฒนาการ
- ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในการมองหน้า สบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกฝนทักษะสังคม
- ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต้มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
การบำบัดทางเลือก
วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ในเรื่อง การดูรักษาส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.เด็กดาวน์
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach )
1.ด้านสุขภาพอนามัย
บิดา มารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กกลุ่มอาการดาวห์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูดกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
การดูแลในช่วง 3 เดือนแรก
การปฏิบัติของบิดา มารดา
- ยอมรับความจริง
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การสอนเพศศึกษา
การส่งเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น
2. Autistic ออทิสติก
- ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
- ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
การพูด
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สื่อสารความต้องการได้
- การสื่อสารความหมายทดแทน ( AAC )
การส่งสริมพัฒนาการ
- ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในการมองหน้า สบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกฝนทักษะสังคม
- ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต้มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
การบำบัดทางเลือก
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ ที่ 12
วันอังคาร ที่ 21 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาและให้กลุ่มที่เหลือนำเสนอความบกพร่องของเด็กพิเศษ ให้เพื่อนๆได้รับชม แล้วให้เพื่อนประเมิน การนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
เนื้อหาที่เรียนเรื่อง
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ หมายถึง การเปลียนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
- พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
- พัฒนาการด้านสังคม
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การใช้ภาษา ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ
2.2 ภาวะตับม้ามโต
2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers
2.4 ระบบประสาทต่างๆ
2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
วันอังคาร ที่ 21 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาและให้กลุ่มที่เหลือนำเสนอความบกพร่องของเด็กพิเศษ ให้เพื่อนๆได้รับชม แล้วให้เพื่อนประเมิน การนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
พัฒนาการ หมายถึง การเปลียนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
- พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
- พัฒนาการด้านสังคม
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การใช้ภาษา ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ
2.2 ภาวะตับม้ามโต
2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers
2.4 ระบบประสาทต่างๆ
2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ ที่ 11
วันอังคาร ที่ 14 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: หมายเหตุ** ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย
วันอังคาร ที่ 14 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: หมายเหตุ** ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย
สาระเพิ่มเติม
นักกายภาพบำบัดกำลังช่วยฝึกกายภาพบำบัดให้กับเด็กพิการ
ครูสอนพูดให้เด็กหูตึง
นักกายอุปกรณ์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กำลังผลิตขาเทียมสำหรับผู้พิการ
เด็กปัญญาอ่อนกำลังฝึกทักษะในการทำอาหาร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการนั้น นอกเหนือจากบุคลากรที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการทางการศึกษาแล้ว ยังมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา ทางสังคม ทางอาชีพ และอื่นๆ ฉะนั้นจึงมีการใช้กลุ่มบุคลากร หรือกลุ่มสหวิทยากร ร่วมกันทำงาน เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการ ซึ่งมีดังนี้
๑. ครูการศึกษาพิเศษ
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมมาเป็นพิเศษเฉพาะ เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทั่วไป และพัฒนาการเฉพาะของเยาวชนผู้พิการ เทคนิคการสอนพิเศษ การใช้สื่อเครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษ การตรวจสอบ และประเมินเด็กพิเศษ การกำหนดหลักสูตร และการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ทั้งครูปกติ เด็กพิการ และพ่อแม่ ทั้งยังมีหน้าที่ให้บริการทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่เยาวชนผู้พิการ และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ สอนเสริม หรือสอนซ่อมเสริมทักษะต่างๆ ให้กับเด็กพิการโดยตรง และ/หรือช่วยครูปกติจัดเตรียม และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือพิเศษ ประสานงานบริการด้านอื่นๆ จัดหรือให้การอบรมแก่ผู้บริหารและครูทุกคนในโรงเรียน ติดตามความก้าวหน้าของเด็ก
๒. ครูปกติ
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมให้มีความรู้ในด้านการสอนเด็กปกติ และควรได้รับข้อมูล หรือการฝึกอบรมให้มีความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจในการสอนเด็กพิการเรียนร่วม ครูปกติมีหน้าที่ดำเนินโปรแกรมการเรียนการสอน และทำหน้าที่ประเมินผล จึงจำเป็นต้องหาเทคนิควิธีการสอน สื่อต่างๆ เพื่อช่วยให้เด็กพิเศษสามารถเรียนอยู่ในชั้นเรียนปกติได้ รวมทั้งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวเด็ก นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจกระบวนการในการประสานงานกับบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องให้การบำบัดรักษา หรือฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่เยาวชนผู้พิการอย่างต่อเนื่อง เช่น นักกายภาพบำบัด นักโสตสัมผัสวิทยา แพทย์ นักแก้ไขการพูด เป็นต้น
๓. ผู้ช่วยครู
เป็นอาสาสมัคร หรือผู้ที่ทางโรงเรียนว่าจ้าง โดยได้รับการฝึกอบรมให้ทำหน้าที่ช่วยครูพิเศษประจำชั้นในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กพิการขณะเด็กเรียน ทำกิจกรรมรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ หรือช่วยในห้องสอนเสริม หรือห้องฟื้นฟูบำบัด
๔. ครูแนะแนว
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมด้านการศึกษา และจิตวิทยาการแนะแนว ทำหน้าที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีที่โรงเรียนไม่มีนักสังคมสงเคราะห์ ช่วยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิเศษจากครู จากบันทึกของทางโรงเรียน พ่อแม่ หน่วยงานใน ชุมชน เป็นต้น เพื่อประสานโปรแกรมการศึกษากับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลความก้าวหน้าของเด็ก ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งให้บริการแนะแนวทางการศึกษา และอาชีพด้วย
๕. ครูสอนพูด
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมให้มีความสามารถสอนพูดและภาษาให้กับเด็กพิการ รวมทั้งสามารถแก้ไขการพูดไม่ชัด โดยร่วมมือกับนักแก้ไขการพูดในการวางแผนการสอนพูดและภาษา
๖. นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน
หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมมาทางด้านจิตวิทยา สามารถทำการตรวจสอบทางจิตวิทยา ปรับพฤติกรรมเด็กพิการ ช่วยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินเด็ก สังเกตเด็กพิการในชั้นเรียนปกติ สัมภาษณ์พ่อแม่ หรือให้คำแนะนำแก่บุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอธิบาย หรือแปลความหมายผลการตรวจสอบให้พ่อแม่ ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และเข้าใจ
๗. นักสังคมสงเคราะห์ประจำโรงเรียน
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมทางด้านสังคมสงเคราะห์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่พ่อแม่ ครู และตัวเด็กเอง ในเรื่องของการให้การสงเคราะห์แก่เด็กพิการที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของครอบครัว ศึกษาปัญหา และสภาพแวดล้อมของเด็ก โดยการเยี่ยมบ้าน ติดตามผล และประสานประโยชน์ระหว่างโรงเรียน องค์กรในชุมชน และทางบ้าน
๘. พยาบาลประจำโรงเรียน
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมด้านการพยาบาล ศึกษา ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับเด็ก อธิบายถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการศึกษาของเด็ก ช่วยในการคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเห็น หรือการได้ยิน อธิบาย หรือแปลความหมายบันทึก หรือรายงานทางการแพทย์ ให้บริการแก่เด็กพิการที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ต้องการการเอาใจใส่ทางการแพทย์ติดต่อกัน รวมทั้งช่วยให้พ่อแม่ของเด็กพิการได้รับบริการทางการแพทย์ สำหรับลูกพิการของเขา
๙. แพทย์
เป็นผู้ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมให้เป็นผู้ชำนาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์ทางกระดูก กุมารแพทย์ แพทย์ทางด้าน หู คอ จมูก ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัย และให้การบำบัดรักษา เพื่อปรับสภาพความพิการ และฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กพิการ ติดตามผลการรักษา ฟื้นฟู โดยอาจเปลี่ยนแปลงการรักษา และฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของความพิการ เพื่อทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพบรรลุผลสูงสุด
๑๐. นักกายภาพบำบัด
เป็นผู้มีความชำนาญในการใช้ทคนิครักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ เพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และข้อต่อที่ทำหน้าที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ฝึกการใช้กายอุปกรณ์เสริมหรือเทียม และเครื่องช่วยในการเคลื่อนไหว รวมทั้งควบคุมการบำบัด ด้วยกายบริหารในกำหนดการต่างๆ ที่แพทย์สั่ง
๑๑. นักกิจกรรมบำบัด
เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการเลือกเฟ้นงานฝีมือ และกิจกรรมต่างๆ มาให้บุคคลพิการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลทางการรักษา การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ นักกิจกรรมบำบัดยังช่วยประดิษฐ์ หรือดัดแปลงอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานการเรียนการสอน ตลอดจนให้คำแนะนำที่จำเป็นแก่ครูและนักกายอุปกรณ์เสริมและเทียม
๑๒. นักกายอุปกรณ์เสริมและเทียม
เป็นผู้ผลิตกายอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ส่วนของร่างกายที่พิการ และดัดแก้ความพิการ ที่สามารถดัด แก้ไขได้ เช่น รองเท้าสำหรับคนพิการ เครื่องช่วยพยุง ปลอกคอกันสะเทือน อุปกรณ์ประคองข้อต่างๆ รวมทั้งผลิตกายอุปกรณ์เทียม ซึ่งเป็น อุปกรณ์ที่ใช้แทนส่วนของแขนขาที่ขาดหายไป เช่น นิ้วเทียม แขนและขาเทียม เป็นต้น
๑๓. นักจิตวิทยาคลินิก
เป็นผู้ที่มีควา รู้ความชำนาญในการตรวจและวินิจฉัยทางจิตวิทยา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการแก้ปัญหา เป็นผู้แก้ไขปัญหาทางพฤติกรรม และอารมณ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต กระตุ้นให้บุคคลพิการมีกำลังใจในการที่จะฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเต็มที่ และให้ข้อเสนอแนะกับครูผู้สอนเด็กพิการด้วย
๑๔. นักแก้ไขการพูด
เป็นผู้ที่สามารถประเมิน และตรวจสอบความสามารถ และความ บกพร่องในการพูด เพื่อทำการส่งเสริมแก้ไขการพูด และพัฒนาการทางภาษาที่ผิดปกติ และเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติเหล่านั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การรักษาอย่างถูกต้องของแพทย์ได้
๑๕. นักโสตสัมผัสวิทยา
เป็นผู้ที่สามารถตรวจ และวินิจฉัยสมรรถภาพการได้ยิน คัดเลือก ให้คำแนะนำ ติดตาม และประเมินผล การใช้เครื่องช่วยฟังทำการฟื้นฟูสมรรถภาพ การได้ยิน ฝึกฟัง ฝึกใช้การมองในการสื่อความหมาย พัฒนาภาษา และการพูด ให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ผู้ปกครองและครู ด้านจิตใจ สังคม และการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเด็กพิการอื่นๆ ที่มี ปัญหาการพูด และภาษา
๑๖. ที่ปรึกษาด้านอาชีพ
เป็นผู้ให้คำแนะนำร่วมกับแพทย์ในการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับความพิการของบุคคล ทำหน้าที่ประเมินด้านอาชีพ เช่น ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และอุปนิสัยในการทำงาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การฝึกเตรียมอาชีพ รวมทั้งวิธีการตรวจสอบทางจิตวิทยา เพื่อประเมินระดับสติปัญญา นอกจากนี้ที่ปรึกษาด้านอาชีพยังมีหน้าที่ทำกำหนดการฝึกอาชีพ แก้ปัญหาในการฝึกอาชีพ ตลอดจนจัดหางานที่เหมาะสมให้ทำ เมื่อฝึกอาชีพได้แล้ว
บุคคลที่ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูสมรรถภาพ เยาวชนผู้พิการ คือ พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ซึ่งจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติของเด็ก ในเวลาที่อยู่นอกโรงเรียน ร่วมวางเป้าหมาย ทางการศึกษาสำหรับเด็ก ให้การสนับสนุน หรือทดแทนส่วนใดส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษา ที่ทางโรงเรียน หรือหน่วยงานของเด็กจัดให้ไม่สมบูรณ์ หรือขาดไป
ครูสอนพูดให้เด็กหูตึง
นักกายอุปกรณ์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กำลังผลิตขาเทียมสำหรับผู้พิการ
เด็กปัญญาอ่อนกำลังฝึกทักษะในการทำอาหาร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการนั้น นอกเหนือจากบุคลากรที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการทางการศึกษาแล้ว ยังมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา ทางสังคม ทางอาชีพ และอื่นๆ ฉะนั้นจึงมีการใช้กลุ่มบุคลากร หรือกลุ่มสหวิทยากร ร่วมกันทำงาน เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการ ซึ่งมีดังนี้
๑. ครูการศึกษาพิเศษ
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมมาเป็นพิเศษเฉพาะ เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทั่วไป และพัฒนาการเฉพาะของเยาวชนผู้พิการ เทคนิคการสอนพิเศษ การใช้สื่อเครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษ การตรวจสอบ และประเมินเด็กพิเศษ การกำหนดหลักสูตร และการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ทั้งครูปกติ เด็กพิการ และพ่อแม่ ทั้งยังมีหน้าที่ให้บริการทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่เยาวชนผู้พิการ และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ สอนเสริม หรือสอนซ่อมเสริมทักษะต่างๆ ให้กับเด็กพิการโดยตรง และ/หรือช่วยครูปกติจัดเตรียม และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือพิเศษ ประสานงานบริการด้านอื่นๆ จัดหรือให้การอบรมแก่ผู้บริหารและครูทุกคนในโรงเรียน ติดตามความก้าวหน้าของเด็ก
๒. ครูปกติ
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมให้มีความรู้ในด้านการสอนเด็กปกติ และควรได้รับข้อมูล หรือการฝึกอบรมให้มีความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจในการสอนเด็กพิการเรียนร่วม ครูปกติมีหน้าที่ดำเนินโปรแกรมการเรียนการสอน และทำหน้าที่ประเมินผล จึงจำเป็นต้องหาเทคนิควิธีการสอน สื่อต่างๆ เพื่อช่วยให้เด็กพิเศษสามารถเรียนอยู่ในชั้นเรียนปกติได้ รวมทั้งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวเด็ก นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจกระบวนการในการประสานงานกับบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องให้การบำบัดรักษา หรือฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่เยาวชนผู้พิการอย่างต่อเนื่อง เช่น นักกายภาพบำบัด นักโสตสัมผัสวิทยา แพทย์ นักแก้ไขการพูด เป็นต้น
๓. ผู้ช่วยครู
เป็นอาสาสมัคร หรือผู้ที่ทางโรงเรียนว่าจ้าง โดยได้รับการฝึกอบรมให้ทำหน้าที่ช่วยครูพิเศษประจำชั้นในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กพิการขณะเด็กเรียน ทำกิจกรรมรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ หรือช่วยในห้องสอนเสริม หรือห้องฟื้นฟูบำบัด
๔. ครูแนะแนว
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมด้านการศึกษา และจิตวิทยาการแนะแนว ทำหน้าที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีที่โรงเรียนไม่มีนักสังคมสงเคราะห์ ช่วยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิเศษจากครู จากบันทึกของทางโรงเรียน พ่อแม่ หน่วยงานใน ชุมชน เป็นต้น เพื่อประสานโปรแกรมการศึกษากับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลความก้าวหน้าของเด็ก ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งให้บริการแนะแนวทางการศึกษา และอาชีพด้วย
๕. ครูสอนพูด
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมให้มีความสามารถสอนพูดและภาษาให้กับเด็กพิการ รวมทั้งสามารถแก้ไขการพูดไม่ชัด โดยร่วมมือกับนักแก้ไขการพูดในการวางแผนการสอนพูดและภาษา
๖. นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน
หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมมาทางด้านจิตวิทยา สามารถทำการตรวจสอบทางจิตวิทยา ปรับพฤติกรรมเด็กพิการ ช่วยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินเด็ก สังเกตเด็กพิการในชั้นเรียนปกติ สัมภาษณ์พ่อแม่ หรือให้คำแนะนำแก่บุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอธิบาย หรือแปลความหมายผลการตรวจสอบให้พ่อแม่ ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และเข้าใจ
๗. นักสังคมสงเคราะห์ประจำโรงเรียน
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมทางด้านสังคมสงเคราะห์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่พ่อแม่ ครู และตัวเด็กเอง ในเรื่องของการให้การสงเคราะห์แก่เด็กพิการที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของครอบครัว ศึกษาปัญหา และสภาพแวดล้อมของเด็ก โดยการเยี่ยมบ้าน ติดตามผล และประสานประโยชน์ระหว่างโรงเรียน องค์กรในชุมชน และทางบ้าน
๘. พยาบาลประจำโรงเรียน
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมด้านการพยาบาล ศึกษา ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับเด็ก อธิบายถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการศึกษาของเด็ก ช่วยในการคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเห็น หรือการได้ยิน อธิบาย หรือแปลความหมายบันทึก หรือรายงานทางการแพทย์ ให้บริการแก่เด็กพิการที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ต้องการการเอาใจใส่ทางการแพทย์ติดต่อกัน รวมทั้งช่วยให้พ่อแม่ของเด็กพิการได้รับบริการทางการแพทย์ สำหรับลูกพิการของเขา
๙. แพทย์
เป็นผู้ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมให้เป็นผู้ชำนาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์ทางกระดูก กุมารแพทย์ แพทย์ทางด้าน หู คอ จมูก ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัย และให้การบำบัดรักษา เพื่อปรับสภาพความพิการ และฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กพิการ ติดตามผลการรักษา ฟื้นฟู โดยอาจเปลี่ยนแปลงการรักษา และฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของความพิการ เพื่อทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพบรรลุผลสูงสุด
๑๐. นักกายภาพบำบัด
เป็นผู้มีความชำนาญในการใช้ทคนิครักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ เพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และข้อต่อที่ทำหน้าที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ฝึกการใช้กายอุปกรณ์เสริมหรือเทียม และเครื่องช่วยในการเคลื่อนไหว รวมทั้งควบคุมการบำบัด ด้วยกายบริหารในกำหนดการต่างๆ ที่แพทย์สั่ง
๑๑. นักกิจกรรมบำบัด
เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการเลือกเฟ้นงานฝีมือ และกิจกรรมต่างๆ มาให้บุคคลพิการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลทางการรักษา การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ นักกิจกรรมบำบัดยังช่วยประดิษฐ์ หรือดัดแปลงอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานการเรียนการสอน ตลอดจนให้คำแนะนำที่จำเป็นแก่ครูและนักกายอุปกรณ์เสริมและเทียม
๑๒. นักกายอุปกรณ์เสริมและเทียม
เป็นผู้ผลิตกายอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ส่วนของร่างกายที่พิการ และดัดแก้ความพิการ ที่สามารถดัด แก้ไขได้ เช่น รองเท้าสำหรับคนพิการ เครื่องช่วยพยุง ปลอกคอกันสะเทือน อุปกรณ์ประคองข้อต่างๆ รวมทั้งผลิตกายอุปกรณ์เทียม ซึ่งเป็น อุปกรณ์ที่ใช้แทนส่วนของแขนขาที่ขาดหายไป เช่น นิ้วเทียม แขนและขาเทียม เป็นต้น
๑๓. นักจิตวิทยาคลินิก
เป็นผู้ที่มีควา รู้ความชำนาญในการตรวจและวินิจฉัยทางจิตวิทยา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการแก้ปัญหา เป็นผู้แก้ไขปัญหาทางพฤติกรรม และอารมณ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต กระตุ้นให้บุคคลพิการมีกำลังใจในการที่จะฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเต็มที่ และให้ข้อเสนอแนะกับครูผู้สอนเด็กพิการด้วย
๑๔. นักแก้ไขการพูด
เป็นผู้ที่สามารถประเมิน และตรวจสอบความสามารถ และความ บกพร่องในการพูด เพื่อทำการส่งเสริมแก้ไขการพูด และพัฒนาการทางภาษาที่ผิดปกติ และเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติเหล่านั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การรักษาอย่างถูกต้องของแพทย์ได้
๑๕. นักโสตสัมผัสวิทยา
เป็นผู้ที่สามารถตรวจ และวินิจฉัยสมรรถภาพการได้ยิน คัดเลือก ให้คำแนะนำ ติดตาม และประเมินผล การใช้เครื่องช่วยฟังทำการฟื้นฟูสมรรถภาพ การได้ยิน ฝึกฟัง ฝึกใช้การมองในการสื่อความหมาย พัฒนาภาษา และการพูด ให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ผู้ปกครองและครู ด้านจิตใจ สังคม และการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเด็กพิการอื่นๆ ที่มี ปัญหาการพูด และภาษา
๑๖. ที่ปรึกษาด้านอาชีพ
เป็นผู้ให้คำแนะนำร่วมกับแพทย์ในการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับความพิการของบุคคล ทำหน้าที่ประเมินด้านอาชีพ เช่น ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และอุปนิสัยในการทำงาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การฝึกเตรียมอาชีพ รวมทั้งวิธีการตรวจสอบทางจิตวิทยา เพื่อประเมินระดับสติปัญญา นอกจากนี้ที่ปรึกษาด้านอาชีพยังมีหน้าที่ทำกำหนดการฝึกอาชีพ แก้ปัญหาในการฝึกอาชีพ ตลอดจนจัดหางานที่เหมาะสมให้ทำ เมื่อฝึกอาชีพได้แล้ว
บุคคลที่ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูสมรรถภาพ เยาวชนผู้พิการ คือ พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ซึ่งจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติของเด็ก ในเวลาที่อยู่นอกโรงเรียน ร่วมวางเป้าหมาย ทางการศึกษาสำหรับเด็ก ให้การสนับสนุน หรือทดแทนส่วนใดส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษา ที่ทางโรงเรียน หรือหน่วยงานของเด็กจัดให้ไม่สมบูรณ์ หรือขาดไป
วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ ที่ 10
วันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ในหัวข้อ เด็กพิเศษ CP โดยนำเสนอโดยการแสดงบทบาทสมมติ รายละเอียดของโรค มีดังนี้
โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
หนึ่งในโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็ก ตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด นั่นก็คือ โรค Cerebral Palsy หรือ โรคสมองพิการ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการช้าลง และมีอาการบกพร่องอื่น ๆ ร่วมด้วย วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับ โรค Cerebral Palsy มาฝากกัน
โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
โดยแต่ละคนที่เป็น โรค Cerebral Palsy จะมีอาการแตกต่างกัน เช่น บางคนจะเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี งุ่มง่าม บางรายเดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้าช่วย นอกจากนี้เด็กบางคนอาจมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วย เช่น บกพร่องด้านการมองเห็น การได้ยิน กระดูกสันหลังคด โดยอาการของแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน
ทั้งนี้เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาดี ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 แต่มักมีปัญหาการเคลื่อนไหว พัฒนาการช้า ยืน เดินได้ช้า พูดไม่ชัด ฯลฯ
สาเหตุและปัจจัยของ โรค Cerebral Palsy
โรคสมองพิการ หรือ โรค Cerebral Palsy เกิดได้จากหลายสาเหตุ มักมีอาการตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติระหว่างการเจริญเติบโตของสมอง ในช่วงต่าง ๆ คือ
1.ระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากแม่ติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก หรือแม่อาจได้รับอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรือได้รับความกระทบกระเทือน บางรายเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองของทารกในครรภ์
2.ระยะระหว่างคลอด อาจเกิดจากแม่ได้รับสารพิษ หรือติดเชื้อ ทำให้คลอดยาก รกพันคอ คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะเด็กที่อายุครรภ์สั้น และน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุที่เกิดในระหว่างคลอดนี้ พบได้ร้อยละ 3-13 ของทั้งหมด
3.ระยะหลังคลอด เด็กอาจติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองได้รับความเสียหายบางส่วน หรือได้รับสารพิษ การขาดออกซิเจนจากการจมน้ำ การสำลัก หรือการชัก หรือสมองบาดเจ็บ
หากเกิดความเสียหายกับสมองในช่วง 2 ปีแรก จะทำให้สมองพิการได้ง่าย เพราะช่วง 2 ปีแรก เป็นช่วงที่เด็กมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วเกือบร้อยละ 80 ของทั้งหมด ทั้งนี้ หากสมองของเด็กเสียหาย เนื้อสมองส่วนนั้นจะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
การวินิจฉัย โรค Cerebral Palsy
โรค Cerebral Palsy สามารถวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ และตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะปรากฎให้เห็นชัดเจน นอกจากนี้ยังจะพบเห็นลักษณะงุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี และหากตรวจด้วยคลื่นสมอง จะพบลักษณะผิดปกติ ที่ทำให้เกิดอาการชักได้
การรักษา โรค Cerebral Palsy
สามารถรักษาตามอาการ โดย
1.ใช้วิธีกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันการผิดรูปของข้อต่าง ๆ โดยใช้การยืด การดึง การตัด อาจใช้เครื่องช่วยพยุง เฝือก หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อป้องกันการเกร็งของกล้ามเนื้อ และข้อติดแข็ง
2.ใช้ยา เพื่อลดอาการเกร็ง ได้แก่
- ยากิน กลุ่ม Diazepam จะช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลข้างเคียงคือ จะมีอาการง่วงนอน
- ยาฉีดเฉพาะที่ โดยเฉพาะกลุ่ม Botox ซึ่งผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์๋ทำให้การนำประสาทส่วนปลายถูกขัดขวาง ถ้าฉีดเข้าไปจะทำให้ลดความผิดรูปผิดร่างของข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว คือ 3-4 เดือน หากหมดฤทธิ์ยา กล้ามเนื้อจะกลับมาเกร็งอีก
อย่างไรก็ตาม ยาฉีดเฉพาะที่ยังไม่ได้รับความนิยม เพราะมีราคาแพง และต้องใช้ปริมาณมาก เนื่องจากเด็กพิการซีพี จะมีกล้ามเนื้อเกร็งหลายมัดมาก นอกจากนี้หากผู้ป่วยที่ข้อแข็ง การฉีดยาจะไม่สามารถช่วยได้
3.การผ่าตัด แบ่งได้เป็น
- การผ่าตัด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ โดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึด ตึง เกร็ง
- การผ่าตัดย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
- การผ่าตัดกระดูก จะใช้สำหรับรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
4.การรักษาด้านอื่น ๆ เช่น ผ่าตัดแก้ไขตามอาการ การใช้เครื่องช่วยฟัง ให้ยาควบคุมการชัก รวมถึงให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตเวช
การดูแลเด็กป่วย โรค Cerebral Palsy
1.ต้องช่วยให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ด้วยการฝึกกิจวัตรประจำวัน การพูด ฝึกกายภาพบำบัด เช่น การฝึกชันคอ การฝึกพลิกตะแคงตัว ฝึกตั้งคลาน ฯลฯ
2.กระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยการเล่น การเคลื่อนไหว การออกเสียง รวมทั้งควรพาเด็กไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม ชุมชน เพื่อให้เด็กปรับตัว เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้
3.จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาของเด็ก เช่น มีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ให้เด็กใช้ได้สะดวกขึ้น ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับความพิการของเด็ก
ทั้งนี้การฝึกฝนต่าง ๆ ควรทำในช่วงขวบปีแรก จนถึงอายุ 7 ปี เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการสูงสุด หากพ้นวัยนี้และเด็กไม่ได้รับการฟื้นฟู อาจทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ มีไม่เต็มที่ และเด็กจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมทั้งข้อต่อต่าง ๆ จะยึด เกร็ง มีสภาพความพิการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการฟื้นฟูอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนกระทั่งโตแล้ว
3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่
3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก
3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น
3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ
โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายปรากฏให้เห็นได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้
1.1 แบบครึ่งซีก จะมีอาการเกร็ง ของแขนและขาข้างเดียวกัน(spastic hemiplegia) โดยมักพบว่าแขนมีอาการมากกว่าขา และเห็นลักษณะผิดปกติของแขนชัดเจน คือ มีการเกร็งงอของข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือกำ ส่วนขาพบมีเท้าเกร็งจิกลง ลักษณะที่พบจะคล้ายในผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
1.2 แบบครึ่งท่อน จะมีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง(spastic diplegia) พบว่ามีอาการเกร็งในส่วนของขามากกว่าแขนมากอย่างเห็นได้ชัด
1.3 แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง พบว่ามีอาการเกร็งของส่วนของแขนและขาใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งอาจพบว่ามีส่วนของแขนมากกว่าขา (spastic quadriplegia)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
แบ่งได้ดังนี้
2.1. อะธีตอยด์(athetoid) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่แน่นอน ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวมากที่มือและเท้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
2.2 อะแทกเซีย(ataxia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยจนถึงปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกายร่วมด้วยได้
3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)
พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง
ปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ
1. ภาวะปัญญาอ่อน เด็กสมองพิการจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในทุกระดับ พบว่ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ คือมีปัญญาอ่อนระดับน้อย ร้อยละ 20 และปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 30-40
การทดสอบระดับสติปัญญา(psychological test) โดยทั่วไปอาจไม่ได้บอกถึงระดับสติปัญญาที่แท้จริง เนื่องจากเด็กสมองพิการมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย เด็กขาดการกระตุ้น ขาดแรงจูงใจและขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กมักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
2. ด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด เด็กสมองพิการมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าใจความผิดปกติของตำแหน่ง ทิศทาง ความหยาบ ความละเอียด รูปทรง ความรู้สึกร้อนหนาว และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและส่วนต่างๆของร่างกาย (body image)ว่าอยู่ในตำแหน่งใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. ด้านอารมณ์และสังคม จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เด็กสมองพิการมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
วันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ในหัวข้อ เด็กพิเศษ CP โดยนำเสนอโดยการแสดงบทบาทสมมติ รายละเอียดของโรค มีดังนี้
รู้จัก โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
รู้จัก โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
หนึ่งในโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็ก ตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด นั่นก็คือ โรค Cerebral Palsy หรือ โรคสมองพิการ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการช้าลง และมีอาการบกพร่องอื่น ๆ ร่วมด้วย วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับ โรค Cerebral Palsy มาฝากกัน
โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
โดยแต่ละคนที่เป็น โรค Cerebral Palsy จะมีอาการแตกต่างกัน เช่น บางคนจะเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี งุ่มง่าม บางรายเดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้าช่วย นอกจากนี้เด็กบางคนอาจมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วย เช่น บกพร่องด้านการมองเห็น การได้ยิน กระดูกสันหลังคด โดยอาการของแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน
ทั้งนี้เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาดี ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 แต่มักมีปัญหาการเคลื่อนไหว พัฒนาการช้า ยืน เดินได้ช้า พูดไม่ชัด ฯลฯ
สาเหตุและปัจจัยของ โรค Cerebral Palsy
โรคสมองพิการ หรือ โรค Cerebral Palsy เกิดได้จากหลายสาเหตุ มักมีอาการตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติระหว่างการเจริญเติบโตของสมอง ในช่วงต่าง ๆ คือ
1.ระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากแม่ติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก หรือแม่อาจได้รับอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรือได้รับความกระทบกระเทือน บางรายเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองของทารกในครรภ์
2.ระยะระหว่างคลอด อาจเกิดจากแม่ได้รับสารพิษ หรือติดเชื้อ ทำให้คลอดยาก รกพันคอ คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะเด็กที่อายุครรภ์สั้น และน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุที่เกิดในระหว่างคลอดนี้ พบได้ร้อยละ 3-13 ของทั้งหมด
3.ระยะหลังคลอด เด็กอาจติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองได้รับความเสียหายบางส่วน หรือได้รับสารพิษ การขาดออกซิเจนจากการจมน้ำ การสำลัก หรือการชัก หรือสมองบาดเจ็บ
หากเกิดความเสียหายกับสมองในช่วง 2 ปีแรก จะทำให้สมองพิการได้ง่าย เพราะช่วง 2 ปีแรก เป็นช่วงที่เด็กมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วเกือบร้อยละ 80 ของทั้งหมด ทั้งนี้ หากสมองของเด็กเสียหาย เนื้อสมองส่วนนั้นจะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
การวินิจฉัย โรค Cerebral Palsy
โรค Cerebral Palsy สามารถวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ และตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะปรากฎให้เห็นชัดเจน นอกจากนี้ยังจะพบเห็นลักษณะงุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี และหากตรวจด้วยคลื่นสมอง จะพบลักษณะผิดปกติ ที่ทำให้เกิดอาการชักได้
การรักษา โรค Cerebral Palsy
สามารถรักษาตามอาการ โดย
1.ใช้วิธีกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันการผิดรูปของข้อต่าง ๆ โดยใช้การยืด การดึง การตัด อาจใช้เครื่องช่วยพยุง เฝือก หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อป้องกันการเกร็งของกล้ามเนื้อ และข้อติดแข็ง
2.ใช้ยา เพื่อลดอาการเกร็ง ได้แก่
- ยากิน กลุ่ม Diazepam จะช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลข้างเคียงคือ จะมีอาการง่วงนอน
- ยาฉีดเฉพาะที่ โดยเฉพาะกลุ่ม Botox ซึ่งผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์๋ทำให้การนำประสาทส่วนปลายถูกขัดขวาง ถ้าฉีดเข้าไปจะทำให้ลดความผิดรูปผิดร่างของข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว คือ 3-4 เดือน หากหมดฤทธิ์ยา กล้ามเนื้อจะกลับมาเกร็งอีก
อย่างไรก็ตาม ยาฉีดเฉพาะที่ยังไม่ได้รับความนิยม เพราะมีราคาแพง และต้องใช้ปริมาณมาก เนื่องจากเด็กพิการซีพี จะมีกล้ามเนื้อเกร็งหลายมัดมาก นอกจากนี้หากผู้ป่วยที่ข้อแข็ง การฉีดยาจะไม่สามารถช่วยได้
3.การผ่าตัด แบ่งได้เป็น
- การผ่าตัด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ โดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึด ตึง เกร็ง
- การผ่าตัดย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
- การผ่าตัดกระดูก จะใช้สำหรับรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
4.การรักษาด้านอื่น ๆ เช่น ผ่าตัดแก้ไขตามอาการ การใช้เครื่องช่วยฟัง ให้ยาควบคุมการชัก รวมถึงให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตเวช
การดูแลเด็กป่วย โรค Cerebral Palsy
1.ต้องช่วยให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ด้วยการฝึกกิจวัตรประจำวัน การพูด ฝึกกายภาพบำบัด เช่น การฝึกชันคอ การฝึกพลิกตะแคงตัว ฝึกตั้งคลาน ฯลฯ
2.กระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยการเล่น การเคลื่อนไหว การออกเสียง รวมทั้งควรพาเด็กไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม ชุมชน เพื่อให้เด็กปรับตัว เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้
3.จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาของเด็ก เช่น มีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ให้เด็กใช้ได้สะดวกขึ้น ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับความพิการของเด็ก
ทั้งนี้การฝึกฝนต่าง ๆ ควรทำในช่วงขวบปีแรก จนถึงอายุ 7 ปี เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการสูงสุด หากพ้นวัยนี้และเด็กไม่ได้รับการฟื้นฟู อาจทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ มีไม่เต็มที่ และเด็กจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมทั้งข้อต่อต่าง ๆ จะยึด เกร็ง มีสภาพความพิการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการฟื้นฟูอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนกระทั่งโตแล้ว
3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่
3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก
3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น
3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ
โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายปรากฏให้เห็นได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้
1.1 แบบครึ่งซีก จะมีอาการเกร็ง ของแขนและขาข้างเดียวกัน(spastic hemiplegia) โดยมักพบว่าแขนมีอาการมากกว่าขา และเห็นลักษณะผิดปกติของแขนชัดเจน คือ มีการเกร็งงอของข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือกำ ส่วนขาพบมีเท้าเกร็งจิกลง ลักษณะที่พบจะคล้ายในผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
1.2 แบบครึ่งท่อน จะมีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง(spastic diplegia) พบว่ามีอาการเกร็งในส่วนของขามากกว่าแขนมากอย่างเห็นได้ชัด
1.3 แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง พบว่ามีอาการเกร็งของส่วนของแขนและขาใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งอาจพบว่ามีส่วนของแขนมากกว่าขา (spastic quadriplegia)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
แบ่งได้ดังนี้
2.1. อะธีตอยด์(athetoid) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่แน่นอน ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวมากที่มือและเท้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
2.2 อะแทกเซีย(ataxia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยจนถึงปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกายร่วมด้วยได้
3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)
พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง
ปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ
1. ภาวะปัญญาอ่อน เด็กสมองพิการจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในทุกระดับ พบว่ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ คือมีปัญญาอ่อนระดับน้อย ร้อยละ 20 และปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 30-40
การทดสอบระดับสติปัญญา(psychological test) โดยทั่วไปอาจไม่ได้บอกถึงระดับสติปัญญาที่แท้จริง เนื่องจากเด็กสมองพิการมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย เด็กขาดการกระตุ้น ขาดแรงจูงใจและขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กมักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
2. ด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด เด็กสมองพิการมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าใจความผิดปกติของตำแหน่ง ทิศทาง ความหยาบ ความละเอียด รูปทรง ความรู้สึกร้อนหนาว และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและส่วนต่างๆของร่างกาย (body image)ว่าอยู่ในตำแหน่งใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. ด้านอารมณ์และสังคม จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เด็กสมองพิการมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)