คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ ที่ 16

วันอังคาร ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557

การเรียนการสอน:
หมายเหตุ** สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้แจกข้อสอบปลายภาค ไปทำ  โดยต้องหาคำตอบจากหนังสือ  สิ่งที่จดไปในห้องเรียน ** ห้ามหาจากอินเตอร์เน็ต เด็ดขาด**
ขอให้เพื่อนๆตั้งใจทำข้อสอบ โชค A กันทั่วหน้าทุกๆคนนะคะ



วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ ที่ 15

วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ได้สอนต่อในหัวข้อเด็กพิเศษ ( LD )

ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)

เรียบเรียงโดย

ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช


สาเหตุของปัญหาการเรียน
สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
ขาดโอกาสทางการศึกษา
ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
วิธีการสอนไม่เหมาะสม
LD คืออะไร?
ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน
พบบ่อยแค่ไหน?
ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1
สาเหตุของ LD
ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
กรรมพันธุ์

ประเภทของ LD
LD ด้านการเขียนและสะกดคำ
LD ด้านการอ่าน
LD ด้านการคำนวณ
LD หลายๆ ด้านร่วมกัน
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การเขียน)
ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
เขียนไม่ตรงบันทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การอ่าน)
อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
เดาคำเวลาอ่าน
อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท
ประเภท (การคำนวณ)
ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
จำสูตรคูณไม่ได้
เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
ตีโจทย์เลขไม่ออก
คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก LD
หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ
ต่อต้านแบบดื้อเงียบ
ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน
ไม่มีสมาธิในการเรียนทำงานช้าทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน
ทำงานสะเพร่า
ความจำไม่ดีได้หน้าลืมหลัง
ขาดความมั่นใจกลัวครูดุกลัวเพื่อนล้อ
ไม่อยากมาโรงเรียนโทษครูว่าสอนไม่ดีเพื่อนแกล้ง
เบื่อหน่ายท้อแท้กับการเรียน
รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งด้อยกว่าคนอื่น
ไม่มั่นใจในตัวเอง
มักตอบคำถามว่าทำไม่ได้ไม่รู้
อารมณ์หงุดหงิดขึ้นลงง่ายคับข้องใจง่าย
ก้าวร้าวกับเพื่อนครูพ่อแม่(ที่จ้ำจี้จ้ำไช)
ปัญหาการเรียน
ปัญหาการพูด มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง
ปัญหาการเขียน มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง อ่านตัวอักษรสลับกัน
ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก
อาการที่มักเกี่ยวข้องกับLD
แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อ (visual-motor coordination) ไม่ดี
สมาธิไม่ดี( เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
ทำงานช้า
การวางแผนงานและจัดระบบ (organize) ไม่ดี
ฟังคำสั่งสับสน
คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
การตรวจประเมิน
โดยทั่วไปเราจะวินิจฉัย LD โดยดูความแตกต่างระหว่างสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนกับระดับสติปัญญาของเด็ก โดยถือว่าเด็กจะเป็น LD ต่อเมื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านนั้นๆ ต่ำกว่าระดับสติปัญญา 2 ปี เช่น เด็กอายุ 10 ปี มี I.Q.=100 แต่ปรากฏว่าความสามารถในการอ่านเท่ากับเด็กอายุ 7 ปี หรือ เด็กอายุ 10 ปีที่มี I.Q.=130 แต่ความสามารถในการคำนวณเท่ากับอายุ 10 ปีเป็นต้น (เด็กควรทำได้สูงกว่านั้น)
จะเกิดอะไรกับเด็กแอลดี (LD) เมื่อเขาโตขึ้น?
ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์
ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนักคนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียนบางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร บางคนหางานทำไม่ได้ เป็นต้น
การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่นอาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก
การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก
หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD
สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
ใช้ประสบการณ์ตรง
ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก
วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room
สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย
แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก LD
พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
แสดงความรักต่อเด็ก
มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน
มีความคาดหวังที่เหมาะสม
เมื่อเด็กทำผิดเช่นเขียนผิดอ่านผิดจงอย่าบ่นช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็กกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น
เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน
อย่ามีของเล่นมากไปอย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุขณะเด็กทำการบ้าน
อย่าสนใจคะแนนมากนักเพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว
ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง
 
 
 

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ ที่ 14

วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์  2557

การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ในเรื่อง  การดูรักษาส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 1.เด็กดาวน์
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach )
1.ด้านสุขภาพอนามัย
   บิดา มารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
   เด็กกลุ่มอาการดาวห์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
    ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4.  การฟื้นฟูสมรรถภาพ
     - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูดกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
     - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )
     - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
     - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
           การดูแลในช่วง  3 เดือนแรก
การปฏิบัติของบิดา  มารดา
- ยอมรับความจริง
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การสอนเพศศึกษา
การส่งเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น
2. Autistic  ออทิสติก
- ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
- ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
     การพูด
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สื่อสารความต้องการได้
- การสื่อสารความหมายทดแทน ( AAC )
การส่งสริมพัฒนาการ
- ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในการมองหน้า สบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกฝนทักษะสังคม
- ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต้มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา

การบำบัดทางเลือก