วันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2557
การเรียนการสอน: วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ในหัวข้อ เด็กพิเศษ CP โดยนำเสนอโดยการแสดงบทบาทสมมติ รายละเอียดของโรค มีดังนี้
รู้จัก โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
รู้จัก โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
โรค Cerebral Palsy เด็กสมองพิการ
หนึ่งในโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็ก ตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด นั่นก็คือ โรค Cerebral Palsy หรือ โรคสมองพิการ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการช้าลง และมีอาการบกพร่องอื่น ๆ ร่วมด้วย วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับ โรค Cerebral Palsy มาฝากกัน
โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
โดยแต่ละคนที่เป็น โรค Cerebral Palsy จะมีอาการแตกต่างกัน เช่น บางคนจะเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี งุ่มง่าม บางรายเดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้าช่วย นอกจากนี้เด็กบางคนอาจมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วย เช่น บกพร่องด้านการมองเห็น การได้ยิน กระดูกสันหลังคด โดยอาการของแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน
ทั้งนี้เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาดี ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 แต่มักมีปัญหาการเคลื่อนไหว พัฒนาการช้า ยืน เดินได้ช้า พูดไม่ชัด ฯลฯ
สาเหตุและปัจจัยของ โรค Cerebral Palsy
โรคสมองพิการ หรือ โรค Cerebral Palsy เกิดได้จากหลายสาเหตุ มักมีอาการตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติระหว่างการเจริญเติบโตของสมอง ในช่วงต่าง ๆ คือ
1.ระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากแม่ติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก หรือแม่อาจได้รับอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรือได้รับความกระทบกระเทือน บางรายเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองของทารกในครรภ์
2.ระยะระหว่างคลอด อาจเกิดจากแม่ได้รับสารพิษ หรือติดเชื้อ ทำให้คลอดยาก รกพันคอ คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะเด็กที่อายุครรภ์สั้น และน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุที่เกิดในระหว่างคลอดนี้ พบได้ร้อยละ 3-13 ของทั้งหมด
3.ระยะหลังคลอด เด็กอาจติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองได้รับความเสียหายบางส่วน หรือได้รับสารพิษ การขาดออกซิเจนจากการจมน้ำ การสำลัก หรือการชัก หรือสมองบาดเจ็บ
หากเกิดความเสียหายกับสมองในช่วง 2 ปีแรก จะทำให้สมองพิการได้ง่าย เพราะช่วง 2 ปีแรก เป็นช่วงที่เด็กมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วเกือบร้อยละ 80 ของทั้งหมด ทั้งนี้ หากสมองของเด็กเสียหาย เนื้อสมองส่วนนั้นจะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
การวินิจฉัย โรค Cerebral Palsy
โรค Cerebral Palsy สามารถวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ และตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะปรากฎให้เห็นชัดเจน นอกจากนี้ยังจะพบเห็นลักษณะงุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี และหากตรวจด้วยคลื่นสมอง จะพบลักษณะผิดปกติ ที่ทำให้เกิดอาการชักได้
การรักษา โรค Cerebral Palsy
สามารถรักษาตามอาการ โดย
1.ใช้วิธีกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันการผิดรูปของข้อต่าง ๆ โดยใช้การยืด การดึง การตัด อาจใช้เครื่องช่วยพยุง เฝือก หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อป้องกันการเกร็งของกล้ามเนื้อ และข้อติดแข็ง
2.ใช้ยา เพื่อลดอาการเกร็ง ได้แก่
- ยากิน กลุ่ม Diazepam จะช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลข้างเคียงคือ จะมีอาการง่วงนอน
- ยาฉีดเฉพาะที่ โดยเฉพาะกลุ่ม Botox ซึ่งผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์๋ทำให้การนำประสาทส่วนปลายถูกขัดขวาง ถ้าฉีดเข้าไปจะทำให้ลดความผิดรูปผิดร่างของข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว คือ 3-4 เดือน หากหมดฤทธิ์ยา กล้ามเนื้อจะกลับมาเกร็งอีก
อย่างไรก็ตาม ยาฉีดเฉพาะที่ยังไม่ได้รับความนิยม เพราะมีราคาแพง และต้องใช้ปริมาณมาก เนื่องจากเด็กพิการซีพี จะมีกล้ามเนื้อเกร็งหลายมัดมาก นอกจากนี้หากผู้ป่วยที่ข้อแข็ง การฉีดยาจะไม่สามารถช่วยได้
3.การผ่าตัด แบ่งได้เป็น
- การผ่าตัด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ โดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึด ตึง เกร็ง
- การผ่าตัดย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
- การผ่าตัดกระดูก จะใช้สำหรับรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
4.การรักษาด้านอื่น ๆ เช่น ผ่าตัดแก้ไขตามอาการ การใช้เครื่องช่วยฟัง ให้ยาควบคุมการชัก รวมถึงให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตเวช
การดูแลเด็กป่วย โรค Cerebral Palsy
1.ต้องช่วยให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ด้วยการฝึกกิจวัตรประจำวัน การพูด ฝึกกายภาพบำบัด เช่น การฝึกชันคอ การฝึกพลิกตะแคงตัว ฝึกตั้งคลาน ฯลฯ
2.กระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยการเล่น การเคลื่อนไหว การออกเสียง รวมทั้งควรพาเด็กไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม ชุมชน เพื่อให้เด็กปรับตัว เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้
3.จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาของเด็ก เช่น มีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ให้เด็กใช้ได้สะดวกขึ้น ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับความพิการของเด็ก
ทั้งนี้การฝึกฝนต่าง ๆ ควรทำในช่วงขวบปีแรก จนถึงอายุ 7 ปี เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการสูงสุด หากพ้นวัยนี้และเด็กไม่ได้รับการฟื้นฟู อาจทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ มีไม่เต็มที่ และเด็กจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมทั้งข้อต่อต่าง ๆ จะยึด เกร็ง มีสภาพความพิการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการฟื้นฟูอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนกระทั่งโตแล้ว
3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่
3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก
3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น
3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ
โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายปรากฏให้เห็นได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้
1.1 แบบครึ่งซีก จะมีอาการเกร็ง ของแขนและขาข้างเดียวกัน(spastic hemiplegia) โดยมักพบว่าแขนมีอาการมากกว่าขา และเห็นลักษณะผิดปกติของแขนชัดเจน คือ มีการเกร็งงอของข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือกำ ส่วนขาพบมีเท้าเกร็งจิกลง ลักษณะที่พบจะคล้ายในผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
1.2 แบบครึ่งท่อน จะมีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง(spastic diplegia) พบว่ามีอาการเกร็งในส่วนของขามากกว่าแขนมากอย่างเห็นได้ชัด
1.3 แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง พบว่ามีอาการเกร็งของส่วนของแขนและขาใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งอาจพบว่ามีส่วนของแขนมากกว่าขา (spastic quadriplegia)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
แบ่งได้ดังนี้
2.1. อะธีตอยด์(athetoid) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่แน่นอน ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวมากที่มือและเท้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
2.2 อะแทกเซีย(ataxia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยจนถึงปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกายร่วมด้วยได้
3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)
พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง
ปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ
1. ภาวะปัญญาอ่อน เด็กสมองพิการจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในทุกระดับ พบว่ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ คือมีปัญญาอ่อนระดับน้อย ร้อยละ 20 และปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 30-40
การทดสอบระดับสติปัญญา(psychological test) โดยทั่วไปอาจไม่ได้บอกถึงระดับสติปัญญาที่แท้จริง เนื่องจากเด็กสมองพิการมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย เด็กขาดการกระตุ้น ขาดแรงจูงใจและขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กมักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
2. ด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด เด็กสมองพิการมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าใจความผิดปกติของตำแหน่ง ทิศทาง ความหยาบ ความละเอียด รูปทรง ความรู้สึกร้อนหนาว และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและส่วนต่างๆของร่างกาย (body image)ว่าอยู่ในตำแหน่งใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. ด้านอารมณ์และสังคม จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เด็กสมองพิการมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น